เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปนํ ได้แก่เหตุดับราคะ. บทว่า
วิปริเยสา ได้แก่โดยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง. บทว่า ราคูปสญฺหิตํ
ได้แก่อิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า ปรโต ปสฺส ความว่า จงเห็น
โดยความเป็นของไม่เทียง. บทว่า มา จ อตฺตโต ความว่า จงอย่าเห็น
โดยความเป็นอัตตา. บทว่า กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า ท่านจงมีสติไปใน
กาย. บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า เพราะท่านเพิกนิจจนิมิตมีเที่ยง
เป็นต้นเสียได้ วิปัสสนาจึงชื่อว่าหานิมิตมิได้. พระอานนทเถระกล่าวกะท่าน
พระวังคีสะนั้นว่า ภาเวทิ ท่านจงเจริญ ดังนี้. บทว่า มานาภิสมยา
ได้แก่ เพราะรู้ด้วยการเห็นมานะอย่างหนึ่ง เพราะรู้ด้วยการละอย่างหนึ่ง.
บทว่า อุปลนฺโต ได้แก่ ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะราคะเป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ 4

5. สุภาสิตสูตร



ว่าด้วยวาจาสุภาษิต 4 ประการ



[738] สาวัตถีนิทาน.
ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอัน
ประกอบด้วยองค์ 4 เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มี
โทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ 4 เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้ว
เท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่บุคคลกล่าวชั่วแล้ว 1 ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรม

เท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม 1 ย่อมกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักเท่านั้น
ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก 1 ย่อมกล่าวแต่วาจาจริงเท่านั้น ไม่กล่าววาจา
เท็จ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ 4 เหล่านี้แล เป็นวาจา
สุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชน
ทั้งหลายไม่ติเตียน.
[739] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์-
ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าววาจา
สุภาษิตว่าเป็นที่หนึ่ง บุคคลพึงกล่าววาจา
ที่เป็นธรรมไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม
เป็นที่สองบุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก
ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม
บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าววาจา
เท็จ เป็นที่สี่ ดังนี้.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์
ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เนื้อความนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด
วังคีสะ.
[740] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุ
ยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียด-
เบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล
พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลาย
ชื่นชมแล้ว ไม่ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย
กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชนเหล่าอื่น
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็น
ของมีมาแต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลาย
เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่เป็นอรรถ
และเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจา
ใด ซึ่งเป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระ-
นิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจา
นั้นแลเป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้.


อรรถกถาสุภาสิตสูตร



ในสุภาสิตสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า องฺเคหิ ได้แก่ ด้วยเหตุหรือด้วยส่วนทั้งหลาย. จริงอยู่
เหตุแห่งวาจาเป็นสุภาษิต 4 มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากพูดคำเท็จเป็นต้น
หรือส่วน 4 มีสัจจวาจาเป็นต้น. ก็บทว่า จตูหิ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงใน
องฺค ศัพท์ ซึ่งแปลว่าเหตุ เป็นตติยาวิภัตติ ลงใน องฺค ศัพท์ ซึ่งแปลว่า
ส่วน. บทว่า สมนฺนาคตา ได้แก่ มาตามพร้อมแล้ว คือเป็นไปแล้วและ